วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามวิชาสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ ( Aesthetics ) คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวก จึงนับว่ามีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล
ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียภาพให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน


สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
สุนทรียศาสตร์กับวิชาชีพพยาบาล.....
การที่เราจะเป็นพยาบาลที่ดีได้ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายประการ สุนทรียศาสตร์ช่วยให้การเป็นพยาบาลมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดย
เสริมทั้งปัญญาให้เกิดความคิดถึงสัจจะธรรมความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่ เจ็บ ตายของมนุษย์
เกิดความคิดที่ช่วยเตือนสติตนเองให้มีอารมณ์ที่มั่นคง ต้องตั้งมั่นและอย่าหวั่นไหวกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต
เกิดการยอมรับกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งคนรอบข้างและตัวเราเอง
ช่วยให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา ผ่านไปถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น: