วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ถาม....ตอบวิชาสุนทรียศาสตร์

1. สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาใด
ตอบ จัดอยู่ในปรัชญาสาขา Axiology เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และมนุษย์เข้าใจซาบซึ้งถึงคุณค่านั้น ด้วยกระบวนการทางญาณวิทยาคุณค่าที่กำหนดให้ศึกษาในวิชาปรัชญานี้มี 4 ประการ คือ 1. ความดี (จริยศาสตร์) 2. ความงาม ( สุนทรียศาสตร์)
3. ความจริง (ตรรกวิทยา)และ 4. ความบริสุทธิ์ของจิตใจ ( เทววิทยา)

2.สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าความงามตรงกับคำว่า Aesthetic หมายถึง การรับรู้อันเป็นกระบวนการ ประสาทสัมผัส ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับอวัยวะสัมผัสภายในทำให้เกิดความรู้สึก นำไปสู่อารมณ์สุนทรีย์จริยศาสตร์ Ethics เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ศึกษาเรื่องความประพฤติที่เกี่ยวข้อง สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำเน้นคุณค่าของพฤติกรรม คุณค่าของชีวิต

3.ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงามแนวคิดของปรัชญาความงาม คือ คุณค่าอย่างหนึ่งของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสของมนุษย์อาจจะเห็นเป็นรูปรส กลิ่น เสียง กายสัมผัส แล้วก่อให้เกิดอารมณ์ ความพึงพอใจ ให้เป็นสุข ความงามเกี่ยวข้องกับอารมณ์มากกว่าเหตุผลความงามตามทัศนนะของข้าพเจ้า คือ ความงามตามธรรมชาติที่มีต่อวัตถุ สิ่งของ เช่น ที่มนุษย์ขึ้น เครื่องประดับ สิ่งของเครื่องใช้ รูปปั้นงานศิลปะที่สวยงามที่มนุษย์สร้างขึ้น ความงามเป็นสิ่งไม่ตายตัว ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ชมแต่ละคนว่าจะมองความงามในแต่ละด้านอย่างไร
4. สุนทรียธาตุคืออะไรมีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุแห่งความงาม แบ่งออก เป็น 3 ชนิด1. ความงาม(Beauty)2. ความแปลกหูแปลกตา(Picture squeness)3. ความน่าทึ่ง(Sublimity)สุนทรียธาตุ ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ รับรู้ด้วยอารมณ์และความรู้สึกให้คุณค่าในทางบวก เช่น ความเพลิดเพลิน สุนทรียธาตุจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือ หรือแนวทางหนึ่งในการแสวงหาความสุขของมนุษย์

5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ โดยใช้หลักนักปรัชญา1. ปรนัยนิยม (Objectivelism) คือ การตัดสินใจโดยยึดหลักมาตรฐานที่อยู่ในสภาวะของ อเทสะเป็นสำคัญ2. อัตนัยนิยม (Subjectivelism) คือมนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง
6.ให้ท่านยกตัวอย่างการตัดสินใจความงามของนักปรัชญา กลุ่มต่างๆมาอย่างน้อย 3 กลุ่ม
ตอบ การตัดสินใจแบบปรนัยนิยมPlato ความงามมาตรฐาน มีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติ ศิลปินเป็นผู้ระลึกได้ใกล้เคียงมากเป็นพิเศษAristotle ความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วน เพราะสัดส่วนทำให้เกิดการผ่อนคลายของประสาท และอวัยวะต่างๆ ความยิ่งใหญ่ของศิลปินอยู่ที่ความสามารถในการค้นพบ ความงามและความกลมกลืน มาถ่ายทอดลงในสื่อการตัดสินแบบอัตนัยนิยมA. Richarts ศิลปะไม่มีหน้าที่ในการสอบหรือชี้แจง ลักษณะของสิ่งของแต่มีหน้าที่ทำให้ผู้มีประสบการณ์ทางสุนทรียธาตุ มีสุขภาพจิตดี ความงามเป็นสิ่งไม่ต่ยตัวขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนTheodurrlipps and Velman be สุนทรียธาตุเกิดจากการที่ศิลปิน หรือผู้ชมแทรกความรู้สึกของตนไปในศิลปกรรม ศิลปินแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ทางสุนทรียะต่างกัน

7. ท่านคิดว่า “คุณค่า” กับ “คุณสมบัติ” เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร
ตอบ คุณค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น และมีคุณค่าในตัวมันเอง คุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความแข็ง เหลว ร่วน คุณสมบัติย่อมมีลักษณะคุณค่าด้วย ดังนั้นคุณค่ากับคุณสมบัติควรเหมือนกัน
8. คุณค่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ คือ1. คุณค่าในตัว (Intrinsic value)2. คุณค่านอกตัว ( Extrinsin value )คุณค่าในตัว เราต้องการสิ่งนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น การมีสุขภาพดี แข็งแรง มีความสุขทางจิตใจ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเองคุณค่านอกตัว เราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้น แต่เพระสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิถีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น ต้องการเงินเพราะเงินสามารถนำไปจับจ่ายซื้อของต่างๆได้ เราต้องการอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ต้องการยาเพื่อรักษาโรคต้องการศึกษา เล่าเรียน เพื่อมีความรู้ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆ ทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสิ่งเดียวกัน บางครั้งก็อาจทำให้คุณค่าทั้ง2ประเภท

9. คำว่า "พยาบาล" กับ "ความเป็นพยาบาล" แตกต่างและสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ พยาบาลมีกรอบในการทำงานที่แน่วแน่ มีเงินเดือน มีหน้าที่ สถานที่ทำงาน ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านการพยาบาล การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ความเป็นพยาบาลจะต้องไม่มีสิ่งที่ไม่เจือปน ดูแลหรือช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลนให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้ป่วยเท่าเทียมกัน

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม 5 ข้อ

1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?
ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ


2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?
ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่

3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น
ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ


4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน


5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้น


สรุป จากคำถามทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบได้ตายตัวแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้เงื่อนไขนั้นเป็นอย่างไรและมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การตัดสินคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละคนวัตถุบางอย่างอาจมีคุณค่ามากสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะหาคุณค่าไม่ได้เลยสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ คุณค่าของความงามจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์และความสัมพันธภาพกับวัตถุรับสัมผัส ในขณะนั้น

ความงาม

จิตรกรรม


งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก เส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต่ การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึกฝนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น

ลักษณะของภาพจิตรกรรม งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ

1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่

2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า

2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง

3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ

4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาดภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ

4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )

4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)

4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบน ฝาผนังอาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย

6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้นแสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาติชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่ง ต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามวิชาสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ ( Aesthetics ) คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวก จึงนับว่ามีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล
ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียภาพให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน


สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
สุนทรียศาสตร์กับวิชาชีพพยาบาล.....
การที่เราจะเป็นพยาบาลที่ดีได้ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายประการ สุนทรียศาสตร์ช่วยให้การเป็นพยาบาลมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดย
เสริมทั้งปัญญาให้เกิดความคิดถึงสัจจะธรรมความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่ เจ็บ ตายของมนุษย์
เกิดความคิดที่ช่วยเตือนสติตนเองให้มีอารมณ์ที่มั่นคง ต้องตั้งมั่นและอย่าหวั่นไหวกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต
เกิดการยอมรับกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งคนรอบข้างและตัวเราเอง
ช่วยให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา ผ่านไปถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างเหมาะสม

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางอัมพร สิทธิจาด ชื่อเล่น เผือก
ปัจจุบัน
อายุ 44 ปี
ที่อยู่ 69/2 ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เบอร์โทรศัพท์ 087 - 1588055
จบการศึกษาพยาบาลศาสตร์ระดับต้นจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
สถานภาพ คู่ นับถือศาสนา พุทธ
สถานที่ปฏิบัติงาน
สถานีอนามัยบ้านสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
อาหารที่ชอบ คือ น้ำพริกกะปิ และ ผักต้ม
สัตว์เลี้ยงที่ชอบ คือ ปลา
สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ คือ ทะเลและ เกาะช้าง